การบุกของกองกำลังป้องกันอิสราเอลรอบนี้ เกิดขึ้นในค่ายผู้ลี้ภัยตูลคาม เขตเวสต์แบงก์ ดินแดนปาเลสไตน์ ตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ 20 เม.ย.จนถึงเมื่อวานนี้ เป้าหมายหลัก คือ การกวาดล้างตูลคาม บริเกดส์ กองพันติดอาวุธที่กบดานอยู่ที่นั่น
กองกำลังของอิสราเอลปะทะกับกองพันตูลคาม บริเกดส์อย่างหนักตลอดสองวันที่ผ่านมา ส่งผลให้สมาชิกของกลุ่มติดอาวุธดังกล่าวเสียชีวิตจำนวนมาก
ขณะเดียวกัน หน่วยงานสาธารณสุขของปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ ระบุว่ามีพลเรือนเสียชีวิต 14 ราย ซึ่งถือว่าเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตที่มากที่สุดในรอบหลายเดือน หลังทหารอิสราเอลบุกเข้ากวาดล้างกลุ่มติดอาวุธในเขตเวสต์แบงก์
หญิงรายหนึ่งเล่าว่าในวันที่กองกำลังอิสราเอลบุกตูลคาม ทุกสถานที่ในเมืองถูกปิด ไม่เว้นแม้แต่มัสยิด และลูกชายของเธอก็ถูกมือสไนเปอร์ของกองทัพอิสราเอลสังหารหลังการทำละหมาด
ด้านกองกำลังป้องกันอิสราเอล รายงานว่า กลุ่มติดอาวุธจำนวนหนึ่งถูกสังหารหรือจับกุม และมีทหารอย่างน้อย 4 นาย ได้รับบาดเจ็บจากการบุกตูลคามรอบนี้คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ค่ายผู้ลี้ภัยตูลคามถูกก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 1950 ตั้งอยู่ในเมืองตูลคาม ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเขตเวสต์แบงก์ มีพื้นที่ราวๆ 0.18 ตารางกิโลเมตร ที่นี่ถือเป็นค่ายผู้ลี้ภัยที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งในเขตเวสต์แบงก์
เขตเวสต์แบงก์ถือเป็นพื้นที่ของปาเลสไตน์ ตามข้อตกลงที่ระบุไว้ในสนธิสัญญาออสโล ปี 1993 เพื่อคลี่คลายปัญหาข้อพิพาทระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์
เขตเวสต์แบงก์ถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ
Area A – มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 18 ให้อยู่ในความปกครองของปาเลสไตน์ มีรัฐบาลและดูแลความมั่นคงของตัวเอง
Area B- มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 22 ให้ปาเลสไตน์มีอำนาจทางการเมือง แต่การดูแลความมั่นคงจะเป็นหน้าที่ของอิสราเอล
Area C – พื้นที่ที่เหลือทั้งหมดให้อิสราเอลดูแลทั้งด้านการเมืองและความมั่นคง ใน Area C นี้เองคือพื้นที่ที่ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวอาศัยและตั้งนิคมอยู่
อย่างไรก็ดี ในระยะหลังชาวยิวเริ่มทยอยเข้าไปตั้งอาณานิคมในเขตเวสต์แบงก์มากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะในบริเวณ Area C เพราะพื้นที่เหมาะแก่การเพาะปลูก มีอาณาบริเวณกว้างขวาง เงียบสงบ และมีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อม
การเติบโตของชาวยิวใน Area C ทำให้ชาวปาเลสไตน์ใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก เนื่องจากหน่วยงานความมั่นคงอิสราเอล ได้ตั้งด่านตรวจความมั่นคงและจำกัดเสรีภาพในการเดินทางของชาวปาเลสไตน์
นี่นำมาสู่ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่สถานการณ์ในพื้นที่ยิ่งย่ำแย่ลงเรื่อยๆ หลังกลุ่มฮามาสเปิดฉากโจมตีอิสราเอลเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ปีที่แล้ว
สำหรับฝั่งปาเลสไตน์ กลุ่มผู้ประท้วง กลุ่มติดอาวุธ และชาวปาเลสไตน์หัวรุนแรงบางส่วน ได้โจมตีชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเวสต์แบงก์อยู่เป็นระยะๆ รวมถึงบุกเข้าไปปะทะกับเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของรัฐบาลอิสราเอล
นับตั้งแต่เกิดสงครามในฉนวนกาซา มีชาวปาเลสไตน์หลายพันคนถูกจับกุมด้วยข้อหาด้านความมั่นคงและการปาหิน รวมถึงมีผู้เสียชีวิตจากปฏิบัติการกวาดล้างของกองทัพและตำรวจอิสราเอล ส่วนฝั่งชาวยิวที่ตั้งถิ่นฐานในเวสต์แบงก์ ก็ก่อความรุนแรงเช่นเดียวกัน
ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 13 เม.ย.ที่ผ่านมา ผู้ตั้งถิ่นฐานชาวอิสราเอลหลายสิบคนได้บุกเข้าไปในหมู่บ้านชาวปาเลสไตน์ในเมืองรามัลลาห์ของเขตเวสต์แบงก์
จากนั้นได้เปิดฉากยิง เผารถและบ้านเรือนของชาวปาเลสไตน์ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีกอย่างน้อย 25 คน
หลายฝ่ายมองว่า ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวในเวสต์แบงก์ออกมาก่อเหตุความไม่สงบในเขตเวสต์แบงก์ เป็นเพราะสงครามในฉนวนกาซาและการเจรจา ที่มีการพูดถึงแนวทางสองรัฐในระดับระหว่างประเทศอย่างตรงไปตรงมา
เนื่องจากถ้าแนวทางสองรัฐสามารถนำไปสู่การสถาปนารัฐปาเลสไตน์จริง ชาวยิวที่อยู่ในเขตเวสต์แบงก์ อาจต้องย้ายออกจากดินแดนของปาเลสไตน์
หนึ่งในแกนนำสำคัญของกลุ่มผู้ก่อตั้งถิ่นฐานชาวยิวในพื้นที่เวสต์แบงก์ คือ เบนต์ซี กอปสตีน เขาคือผู้ก่อตั้งและผู้นำเลฮาวา กลุ่มขวาจัดที่ต่อต้านชาวอาหรับและมุสลิม คาดว่ากลุ่มนี้มีสมาชิกอยู่ที่ราวๆ 5,000 คน
ผู้ก่อตั้งถิ่นฐานชาวยิวหัวรุนแรงรายนี้ เป็นพันธมิตรกับอิตามา เบน-กวีร์ รัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงแห่งชาติของอิสราเอล ที่เคยออกมาระบุว่าให้ประหารนักโทษของกลุ่มฮามาสที่รัฐบาลจับตัวไว้ได้
ที่ผ่านมา เบนต์ซี กอปสตีน พยายามปลุกปั่นให้ชาวยิวในพื้นที่ต่อต้านชาวปาเลสไตน์ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น การทำกิจกรรมเพื่อยุติการออกเดทระหว่างชาวยิวและชาวปาเลสไตน์ หลังจากเกิดเหตุการบุกโจมตีชาวปาเลสไตน์ของกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐานชาวยิวหัวรุนแรง
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้ประกาศคว่ำบาตร เบนต์ซี กอปสตีน ผู้กลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงรายนี้ ด้วยข้อหาทำกิจกรรมที่ “บ่อนทำลาย” เสถียรภาพและความมั่นคงในเขตเวสต์แบงก์
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ยังได้คว่ำบาตรหน่วยงานระดมทุนอีก 2 แห่งที่สนับสนุนกิจกรรม “บ่อนทำลาย” เสถียรภาพและความมั่นคงในเขตเวสต์แบงก์
ความเคลื่อนไหวของฝ่ายบริหารสหรัฐฯ ต่อผู้ตั้งถิ่นฐานอิสราเอลหัวรุนแรง สร้างความปั่นป่วนให้กับสมาชิกฝ่ายขวาจัดของรัฐบาลอิสราเอลชุดปัจจุบัน ที่นำโดยนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู
เนื่องจากกลุ่มขวาจัดเหล่านี้ สนับสนุนการขยายการตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในเขตเวสต์แบงก์ รวมถึงสนับสนุนการผนวกเวสต์แบงก์ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนของอิสราเอล แม้ว่าดินแดนส่วนนี้จะเป็นดินแดนของปาเลสไตน์ตามข้อตกลงปี 1967 ก็ตาม
การผนวกดินแดนของปาเลสไตน์ตามแนวคิดของพรรคกลุ่มขวาจัด เป็นสิ่งที่รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่เห็นด้วย เนื่องจากอาจนำไปสู่การต่อสู้และสงครามที่ไม่รู้จบระหว่างทั้งสองฝ่าย
การคว่ำบาตรครั้งนี้ เกิดขึ้นในขณะที่ความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างรัฐบาลสหรัฐฯ และพันธมิตรอย่างอิสราเอล ถูกทดสอบโดยสงครามในฉนวนกาซาที่กำลังดำเนินไปอย่างดุเดือด
ล่าสุด สำนักข่าวแอ็กซิออสของสหรัฐฯ รายงานเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาว่า ทางการสหรัฐฯ เตรียมออกมาตรการคว่ำบาตร “เนตซาห์ เยฮูดา” กองพันหนึ่งของกองกำลังป้องกันอิสราเอล ฐานละเมิดสิทธิมนุษยชนในเขตเวสต์แบงก์
หลังมีกระแสข่าวดังกล่าวออกมา นายกฯ เนทันยาฮูก็ได้ออกมาแถลงตอบโต้ทันทีโดยระบุว่า จะทำทุกวิถีทางที่มีเพื่อปกป้องกองพันเนตซาห์ เยฮูดาจากการถูกคว่ำบาตร
ขณะที่การปะทะในเขตเวสต์แบงก์เป็นไปอย่างดุเดือด สถานการณ์ในฉนวนกาซาก็ยังคงรุนแรงเช่นเดียวกัน เนื่องจากกองกำลังป้องกันอิสราเอลยังคงโจมตีพื้นที่ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
หนึ่งในพื้นที่ที่ถูกโจมตีคือ ราฟาห์ พื้นที่หลบภัยแห่งสุดท้ายของชาวปาเลสไตน์ ซึ่งอยู่ทางใต้สุดของฉนวนกาซาติดกับแหลมไซนายของอียิปต์
เมื่อวานนี้ 21 เม.ย. อิสราเอลได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศใส่พื้นที่แห่งนี้ ส่งผลให้เกิดกลุ่มควันพวยพุงจนสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
กระทรวงสาธารณสุขของฉนวนกาซา ที่บริหารงานโดยกลุ่มฮามาส รายงานว่าผลจากการโจมตีทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 19 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีกจำนวนมาก นอกจากที่ราฟาห์แล้ว อีกหนึ่งพื้นที่ที่ถูกโจมตีคือ ข่าน ยูนิส เมืองใหญ่ทางตอนใต้ของฉนวนกาซา
ภาพการโจมตีที่สภาเสี้ยววงเดือนแดงแห่งปาเลสไตน์บันทึกเอาไว้ได้ และเผยแพร่ออกมาเมื่อวานนี้ โดยการโจมตีทำให้เกิดกลุ่มควันหนาทะมึนพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้า
กระทรวงสาธารณสุขของฉนวนกาซารายงานว่า การโจมตีทั่วฉนวนกาซาเมื่อวานนี้ ส่งผลให้มีชาวปาเลสไตน์เสียชีวิตไปแล้ว 48 ราย บาดเจ็บอีกอย่างน้อย 79 คน ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตนับตั้งแต่เกิดสงครามเมื่อวันที่ 7 ต.ค.ที่ผ่านมา พุ่งไปแตะที่ 34,097 ราย และผู้บาดเจ็บตอนนี้อยู่ที่ 76,980 คน
นอกจากความขัดแย้งบนแผ่นดินอิสราเอลแล้ว อีกประเด็นหนึ่งที่หลายฝ่ายยังคงติดตามคือ ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ที่ตอนนี้ดูเหมือนจะลดระดับลงแล้ว หลังอิหร่านส่งสัญญาณว่าจะไม่ตอบโต้กลับอิสราเอลคำพูดจาก เว็บตรง true wallet
ล่าสุด ผู้นำสูงสุดของอิหร่านก็ได้ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน อยาตุลเลาะห์ อาลี คาเมเนอี ผู้นำสูงสุดของอิหร่านได้เข้าพบกับนายทหารระดับสูงของอิหร่าน พร้อมกล่าวขอบคุณสำหรับการโจมตีแผ่นดินอิสราเอล โดยระบุว่า อิหร่านได้แสดงศักยภาพในการโจมตีอิสราเอลแล้ว
ด้านอิสมาอิล ฮานิเยห์ ผู้นำกลุ่มฮามาส ซึ่งอยู่ในระหว่างการเยือนกรุงอิสตันบูลของตุรกี ก็ได้ออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับการโจมตีเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเช่นกัน โดยระบุว่า อิสราเอล คือ ผู้เดียวที่ต้องรับผิดชอบต่อความตึงเครียดในภูมิภาคที่ยกระดับขึ้น รวมถึงต้องรับผิดชอบต่อการทำให้การบรรลุข้อตกลงยิงในฉนวนกาซาไม่คืบหน้า
ขณะที่ความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและอิหร่านลดระดับลง แต่ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านกำลังเพิ่มขึ้น
หลังจากเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา สำนักข่าวเดอะการ์เดียนรายงานว่า จรวด 5 ลูก ได้พุ่งเป้าเข้าโจมตีฐานทัพของสหรัฐฯ ในพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย ซึ่งคาดว่าน่าจะถูกยิงมาจากเมืองซุมมาของประเทศอิรัก
นี่ถือเป็นการกลับมาโจมตีฐานทัพของสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 2 เดือน และหลายฝ่ายคาดว่าสหรัฐฯ จะเปิดฉากโต้กลับหลังจากนี้
"ชาบี" ตำหนิลา ลีกา น่าอายไม่มีโกลไลน์ หลังบาร์ซ่า พ่าย เรอัล มาดริด
“บิ๊กโจ๊ก” ยื่นเอาผิดพนักงานสอบสวน-นายกฯ มั่นใจได้กลับมาแน่!