เกือบสามเดือนแล้วที่ซูดานเกิดสงครามกลางเมืองและจนถึงวันนี้สถานการณ์ก็ยังไม่สงบ ล่าสุดศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังสืบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ เนื่องจากพบหลุมฝังศพหมู่ที่ภายในเต็มไปด้วยร่างของผู้เสียชีวิตที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งผลให้คาดกันว่า ทหารอาจก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้แทนของศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC ได้รายงานต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือ UNHCR ที่มีสำนักงานในนครนิวยอร์กว่า
ศาลอาญาระหว่างประเทศ “ออกหมายจับปูติน” ก่ออาชญากรรมสงครามในยูเครน
เหตุปะทะ "ซูดาน" มีรายงานผู้เสียชีวิตมากกว่า 400 คน เจ็บกว่า 3,500 คน
ทาง ICC เตรียมที่จะเปิดการสืบสวนกรณีการสังหารหมู่และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในซูดาน หลังประเทศนี้ตกอยู่ในความโกลาหลจากสงครามกลางเมืองมานานเกือบสามเดือนแล้ว
คาริม ข่าน อัยการจาก ICC ทำหน้าที่เป็นผู้รายงาน ระบุว่า ข้อมูลที่ทาง ICC ได้รับและนำมาสู่การสืบสวนนั้นมาจากรายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ฉายรายละเอียดเกี่ยวกับการสังหารชาวมาซาลิต หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวซูดานอย่างน้อย 87 ราย ในรัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ รายานระบุว่า ผู้สังหารคือ กองทัพซูดานและกองกำลัง RSF
อัยการจาก ICC ระบุว่า ขณะนี้พวกเขากำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนและเก็บข้อมูล และความเสียหายที่แท้จริงนั้นมีมากกว่าแค่การเสียชีวิตของสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์จำนวน 87 ราย และอาชญากรรมเหล่านี้ถือเป็นการละเมิดธรรมนูญกรุงโรมที่นานาชาติเคยให้สัตยาบัน
ธรรมนูญกรุงโรมของศาลอาญาระหว่างประเทศหรือ ICC นั้นเป็นสนธิสัญญาที่นานาชาติให้สัตยาบันเข้าร่วม ซึ่งประเทศที่เข้าร่วมจะถือว่า เป็นรัฐภาคีที่ยอมรับเขตอำนาจของ ICC ปัจจุบันมีประเทศที่ยอมรับอำนาจของ ICC ทั้งหมด 123 ประเทศ อย่างไรก็ตามซูดานไม่ได้ให้สัตยาบัน เช่นเดียวกับหลายประเทศที่ขณะนี้กำลังเกิดความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองอย่าง เมียนมา หรือ ยูเครน
ดังนั้นในการจะดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดที่ก่ออาชญากรรมในประเทศที่ไม่ใช่รัฐภาคี ทาง ICC ต้องทำผ่านทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ โดยที่ทั้ง 5 ชาติสมาชิกถาวรต้องเห็นชอบ
นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมทาง ICC จึงต้องรายงานความคืบหน้าในการสืบสวนต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
เกิดอะไรขึ้นในซูดาน? กลางเดือนเมษายนปี 2023 กรุงคาร์ทูม เมืองหลวงของประเทศกลายเป็นสนามรบ เมื่อสองกองทัพที่ทรงประสิทธิภาพมากที่สุดในประเทศลุกขึ้นมาสู้รบกัน ฝ่ายหนึ่งคือ พลเอกอับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ผู้นำกองกำลังซูดาน อีกฝ่ายคือ พลเอกโมฮาเหม็ด ฮัมดัน ดากาโล เฮเมดติ ผู้บัญชาการกองกำลัง RSF หรือ กองกำลังกึ่งทหารเคลื่อนที่เร็ว กองกำลังอิสระที่ไม่ได้สังกัดกองทัพซูดาน
สาเหตุมาจากการที่ทั้งสองกองทัพไม่ลงรอยกันในโรดแมปที่จะพาประเทศไปสู่ประชาธิปไตย ซึ่งกำหนดให้ RSF ต้องเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพซูดาน ซึ่งเป็นแนวทางที่กองกำลัง RSFไม่เห็นด้วย ประเทศนี้ชะงักงันทางการเมืองมาตั้งแต่รัฐประหารในปี 2021 ทหารแต่งตั้งตนเองเป็นรัฐบาลเปลี่ยนผ่าน และเมื่อพวกเขาขัดแย้งกันจนลุกขึ้นมาสู้รบกันเอง จึงยากที่จะควบคุม
นอกเหนือจากกรุงคาร์ทูมแล้ว ยังมีรายงานความเสียหายในเมืองอื่นๆ ด้วย การสู้รบส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่าพันราย และส่งผลให้มีคลื่นผู้ลี้ภัยมากถึง 2 ล้าน 8 แสนราย ส่วนใหญ่หนีออกจากซูดานเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่น อียิปต์ เอธิโอเปีย และลิเบีย รัฐเวสต์ดาร์ฟูร์กลายเป็นนรก ศพกองตามถนน
รัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของซูดานติดกับประเทศชาดก็เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
ที่นี่เป็นรัฐเล็กๆ มีประชากรตั้งถิ่นฐานราว 1 ล้าน 8 แสนราย และรัฐนี้เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคดาร์ฟูร์ทางตะวันตกของประเทศที่ประกอบด้วย 5 รัฐ รายงานจาก สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ นับตั้งแต่การสู้รบในซูดานปะทุขึ้น คาดกันว่ามีผู้ลี้ภัยหนีออกจากรัฐเวสต์ดาร์ฟูร์แล้วมากกว่า 115,000 ราย
เกิดอะไรขึ้นที่รัฐเวสต์ดาร์ฟูร์? ที่ผ่านมามีรายงานความรุนแรงจากทหารของสองกองทัพที่กระทำต่อประชาชนเรื่อยมา
ในข้อมูลล่าสุดที่ได้รับการยืนยันจากสหประชชาติระบุว่า พบหลุมฝังศพหมู่นอกเมืองเอล จีเนียนา (El-Geneina) ที่ภายในหลุมเต็มไปด้วยร่างของผู้เสียชีวิตจำนวน 87 ราย ทั้งหมดเป็นชาวมาซาลิต และทางสหประชาชาติระบุว่า ผู้สังหารคือ สมาชิกของกองกำลัง RSF มีรายละเอียดว่า ศพจำนวน 37 ศพถูกฝังตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา ในขณะที่อีก 50 ศพถูกกลบฝังในวันถัดมา และส่วนใหญ่ของเหยื่อเป็นผู้หญิงและเด็ก
ข้อมูลล่าสุดนี้เป็นข้อกล่าวหาเพิ่มเติมแก่กองกำลัง RSF หลังจากเมื่อสัปดาห์ก่อน ทาง Human Right Watch เพิ่งจะระบุว่า ทหาร RSF สังหารสมาชิกของชุมชนชาวมาซาลิตจำนวน 28 ราย ก่อนจะทำลายที่อยู่อาศัยของพวกเขาจนราบเป็นหน้ากลอง สถานการณ์การสู้รบที่ยังดุเดือดทำให้ทาง ICC ยังไม่สามารถเข้าสืบสวนได้เต็มที่
อย่างไรก็ตามมีเสียงจากพยานที่รอดชีวิตบอกเล่าถึงความรุนแรงที่เกิดขึ้น และเรื่องราวที่พวกเขาเผชิญมานั้นสอดคล้องกัน
รายงานจากโมฮัมเหม็ด ฮัสซัน ผู้อำนวยการบริหารเครือข่ายดาร์ฟูร์เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ดูแลผูลี้ภัยจากดาร์ฟูร์ที่หนีเข้ามาในชาดเล่าว่า ทหารควบคุมเมืองเอล จีเนียนา ห้ามผู้คนออกจากบ้าน ใครที่ออกมาถ้าเป็นผู้ชายจะถูกฆ่า ถ้าเป็นผู้หญิงจะถูกข่มขืน
นี่คือตัวอย่างของความโหดร้ายที่ชาวซูดานในรัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ต้องเผชิญจากภาพคือ ศพประชาชนที่ถูกสังหารแล้วทิ้งร่างไว้บนถนน จนศพเริ่มเน่า รายงานจากสำนักข่าวบีบีซีที่สัมภาษณ์ชาวซูดานเมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาเล่าว่า ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างสองกองทัพที่ล่วงเลยมาเป็นเวลาสามเดือน ภาพของร่างผู้เสียชีวิตที่ถูกทิ้งไว้บนถนนเช่นนี้ปรากฏขึ้นในหลายเมือง
ในบางพื้นที่ชาวบ้านต้องฝังร่างกันเองเพราะทนสงสารเหยื่อไม่ไหว เนื่องจากตามความเชื่อของคนมุสลิม ศพเหล่านี้ต้องประกอบพิธีฝังภายใน 24 ชั่วโมง ทว่าบางครั้งจำนวนศพที่มีมากเกินไป หรือในบางพื้นที่ที่การสู้รบยังคงดุเดือดเข้มข้นทำให้หลายศพถูกปล่อยทิ้งไว้นานเป็นสัปดาห์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังสร้างความกังวลว่าเชื้อโรคจากศพที่เน่าเปื่อยอาจทำให้เกิดโรคระบาดในพื้นที่นั้นๆ ตามมา ซึ่งจะเป็นการซ้ำเติมหายนะจากสงครามที่หนักหนาอยู่แล้วเป็นทุนเดิมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ตัวอย่างจากกรณีของครอบครัวหนึ่งในรัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ พวกเขาต้องรอนานถึง 13 วันกว่าจะเข้าถึงร่างของสมาชิกครอบครัวที่เสียชีวิตไปแล้วได้
ทั้งนี้รายงานจาก คาริม ข่าน อัยการของ ICC เสริมด้วยว่า นอกเหนือจากร่างผู้เสียชีวิตที่เป็นชาวมาซาลิตแล้ว ยังพบร่างของชนกลุ่มน้อยอื่นๆ ที่ไม่ใช่ชาวอาหรับด้วย รัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ เป็นส่วนหนึ่งของภูมิภาคดาร์ฟูร์ และเป็นเวลาหลายปีแล้วที่พื้นที่นี้ไม่เคยว่างเว้นจากความรุนแรง
พื้นที่นี้ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์และพวกเขามีความต้องการที่จะแยกตัวออกจากซูดาน ย้อนไปในปี 2003 รัฐบาลกลางส่งกองทัพบุกเข้าไปในดาร์ฟูร์สังหารกลุ่มต่อต้านที่มองว่าเป็นกลุ่มกบฏอย่างเหี้ยมโหดและผู้ชายในหมู่บ้านที่ไม่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ขณะเดียวกันทหารของรัฐยังข่มขืนผู้หญิงไปจำนวนมาก
ความโหดร้ายที่เกิดขึ้นในภูมิภาคดาร์ฟูร์ถูกนิยามว่าเป็น การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งแรกในศตวรรษที่ 21
และสหประชาชาติระบุว่า มีผู้เสียชีวิตมากถึง 300,000 ราย ส่วนผู้ลี้ภัยมีมากถึง 2 ล้านราย
ผู้สั่งการในวันนั้นคือ โอมาร์ อัล-บาเชียร์ อดีตประธานาธิบดีซุดานที่ปกครองประเทศมานานถึงสามทศวรรษ ตั้งแต่ปี 1993 ก่อนจะถูกโค่นล้มจากตำแหน่งในปี 2019 หลังประชาชนออกมาประท้วงกันทั่วประเทศ เพราะไม่พอใจการบริหารที่เต็มไปด้วยคอร์รัปชันและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
หลังถูกโค่นล้ม อัล-บาเชียร์ ถูกนำตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาคดีในความผิดมากมายที่เขาก่อขึ้น และหนึ่งในนั้นคือคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในภูมิภาคดาร์ฟูร์
ทั้งนี้นอกเหนือจากความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนแล้ว ทางสหประชาชาติยังกังวลด้วยว่า ศพจำนวนมากอาจไม่ได้รับการระบุตัวตนและไม่สามารถส่งคืนร่างหรือขิ้นส่วนคืนต่อครอบครัวได้ รวมถึงยังกังวลว่า ท่ามกลางสงคราม การจัดการศพอาจดำเนินไปตามมีตามเกิดโดยไม่ได้คำนึงถึงเกียรติและศักดิ์ศรีของผู้เสียชีวิต